วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Mobile app



7.Mobile Application

  • Mobile Application : เป็นบริการพัฒนาระบบแอพลิเคชั่นต่างๆ รวมถึงมัลติมีเดีย presentation บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น IPAD / IPHONE / ANDROID / SYMBIAN  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความประทับใจในการนำเสนอข้อมูล รวมถึงการพัฒนาระบบใช้งานสำหรับองค์กร เช่น ระบบงานขาย (Sale Kid) ระบบตรวจสอบสต๊อกสินค้า ระบบจองห้องพัก ระบบนำเสนอสำหรับอสังหาริมทรัพย์ ระบบ E-learning ระบบค้นหาแผนที่เป็นต้น ในส่วนของผู้บริหาร สามารถดูรายงานสรุปการขาย รายงานความก้าวหน้าของโครงการ ยอดสินค้าคงเหลือ และรายงานอื่นๆตามต้องการ เป็นต้น  ทั้งนี้ ยังมีระบบ Back Office เพื่อให้สามารถเพิ่มข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลได้โดยง่าย เหมาะสำหรับธุรกิจ
  • Mobile Application เหมาะสำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆในการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงขยายการให้บริการผ่านมือถือ สะดวกง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เช่น Mobile Application for Real Estate โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับอสังหาริมทรัพย์ ใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้า การจอง การขายบ้าน คอนโด ที่ดิน Mobile Application for Tourism โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับการท่องเที่ยว โรงแรม บริษัททัวร์ สามารถดูข้อมูล จองที่พักได้ รวมถึงกลุ่ม MICE ที่สามารถจัดทำระบบการลงทะเบียน การชำระเงิน ข้อมูลการประชุม สัมมนา นิทรรศการ Mobile Application for Restaurant โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านไวน์ นำเสนอเมนูอาหารรูปแบบใหม่ สร้างความแตกต่างและทันสมัย Mobile Application for Retail or Wholesale โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับการขายสินค้า หรือ บริการ ทั้งแบบค้าปลีก ค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย หรือขายผ่านพนักงานขาย Mobile Application for Education โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับการศึกษา สถาบันการศึกษา ห้องสมุด ศูนย์ฝึกอบรม สามารถจัดทำสื่อการสอน การจัดทำบทเรียน หรือระบบ Learning Management SystemMobile Application for Healthcare สำหรับบริการทางการแพทย์ สาธารณสุข ในการให้คำปรึกษาทางไกล ระบบ Mobile Clinic, Mobile Application for Logistics, Mobile Application for Government สำหรับหน่วยงานราชการในการนำเสนอฐานข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม บริการต่างๆของหน่วยงานในรูปแบบทันสมัยมากขึ้น เป็นต้น
  • Mobile Application ประกอบขึ้นด้วยคำสองคำ คือ Mobile กับ Application มีความหมายดังนี้ Mobile คืออุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการพกพา ซึ่งนอกจากจะใช้งานได้ตามพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังทำงานได้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่พกพาได้จึงมีคุณสมบัติเด่น คือ ขนาดเล็กน้ำหนักเบาใช้พลังงานค่อนข้างน้อย ปัจจุบันมักใช้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างในการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกับคอมพิวเตอร์ สำหรับ Application หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อช่วยการทำงานของผู้ใช้ (User) โดย Application จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface หรือ UI) เพื่อเป็นตัวกลางการใช้งานต่าง ๆ
  • Mobile Application เป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตโดยโปรแกรมจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังสนับสนุน ให้ผู้ใช้โทรศัพท์ได้ใช้ง่ายยิ่งขึ้น ในปัจจุบันโทรศัพท์มือ หรือ สมาร์ทโฟน  มีหลายระบบปฏิบัติการที่พัฒนาออกมาให้ผู้บริโภคใช้ ส่วนที่มีคนใช้และเป็นที่นิยมมากก็คือ ios และ Android จึงทำให้เกิดการเขียนหรือพัฒนา Application ลงบนสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก อย่างเช่น แผนที่, เกมส์, โปรแกรมคุยต่างๆ และหลายธุรกิจก็เข้าไปเน้นในการพัฒนา Mobile Application เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ตัวอย่าง Application ที่ติดมากับโทรศัพท์ อย่างแอพพลิเคชั่นเกมส์ชื่อดังที่ชื่อว่า Angry Birds หรือ facebook ที่สามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึก สถานที่ รูปภาพ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้โดยตรงไม่ต้องเข้าเว็บบราวเซอร์
  • Mobile Application เหมาะสำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆในการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงขยายการให้บริการผ่านมือถือ สะดวกง่าย 

มัลติทัล


6.มัลติทัช
         มัลติทัช (Multi Touch) 
     รับข้อมูลโดยใช้นิ้วสัมผัสที่จอภาพโดยตรง เรียกว่า จอสัมผัส (touch screen) ทำให้การใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง เช่น จอสัมผัสตู้เอทีเอ็ม จอสัมผัสแสดงข้อมูลร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จอสัมผัสเครื่องจีพีเอส จอสัมผัสเครื่องพีดีเอ จอสัมผัสสมาร์ทโฟน จอสัมผัสเหล่านี้สั่งการโดยใช้สไตลัส (Stylus) หรือนิ้วสัมผัสบนจอ การสั่งการที่สัมผัสจอภาพทีละจุด เรียกว่าซิงเกิลทัช (Single touch)

     ปัจจุบันสามารถรองรับคำสั่งผ่านหน้าจอสัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน เรียกว่า มัลติทัช (multi touch) ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พีดีเอ และสมาร์โฟนแตกต่างออกไป แทนที่จะให้อุปกรณ์นั้นรับรู้การเลือกได้เพียงจุดเดียวในเวลาหนึ่ง ทำให้อุปกรณ์รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลือกหลายจุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบการเคลื่อนไหวของนิ้วมือหลายนิ้วของผู้ใช้สัมผัสไปบนจอภาพโดยตรง หรือในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถสัมผัสแผงแป้นสัมผัสหรือเรียกว่า ทัชแพด (touchpad) เพื่อเลือก เลื่อน หรือขยายวัตถุที่แสดงผลอยู่

ระบบทัชสกรีนกับระบบมัลติทัชนั้นต่างกันอย่างไร ?
     หน้าจอแบบทัชสกรีนก็คือหน้าจอแบบสัมผัสเช่นเดียวกับหน้าจอมัลติทัชแต่ระบบทัชสกรีนสามารถกดได้แค่ตำแหน่งเดียวแต่มัลติสกรีนสามารถกดได้หลายตำแหน่ง เช่น อุปกรณ์จำพวกปาล์ม หรือ PDA นั้นคือทัชสกรีน แต่ ไอโฟนนั้นคือมัลติสกรีน
   ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้คีบอร์ด เมาส์ และแป้นสัมผัสเป็นอุปกรณ์รับข้อมูล นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ที่ออกแบบพิเศษที่ติดเข้ากับจอภาพหรือจอภาพชนิดพิเศษที่สามารถรับข้อมูลโดยใช้นิ้วสัมผัสที่จอภาพโดยตรงเรียกว่า จอสัมผัส (touch screen) ทำให้การใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง ตัวอย่างเช่นจอสัมผัสตู้เอทีเอ็ม จอสัมผัสแสดงข้อมูลร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จอสัมผัสเครื่องจีพีเอส จอสัมผัสเครื่องพีดีเอ จอสัมผัสสมาร์ทโฟน จอสัมผัสเหล่านี้สั่งการโดยใช้สไตลัส(stylus)หรือ นิ้วสัมผัสบนจอ การสั่งการที่สัมผัสจอภาพทีละจุด เรียกว่า ซิงเกิลทัช(single tonch)
                ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับคำสั่งผ่านหน้าจอสัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน เรียกว่า มัลติทัช (multi touch)เทคโนโลยีนี้ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พีดีเอ และสมาร์ทโฟนแตกต่างกันออกไปแทนที่จะให้อุปกรณ์นั้นรับรู้การเลือกเพียงจุดเดียวในเวลาหนึ่ง ก็ทำให้อุปกรณ์รับรู้สิ่งที่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลือกหลายจุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบการเคลื่อนไหวของนิ้วมือลายนิ้วของผู้ใช้สัมผัสไปที่จอภาพโดยตรงหรือในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถสัมผัสที่แผงแป้นสัมผัสหรือที่เรียกว่าทัชแพด (tonchpad) เพื่อเลือกเลื่อนหรือขยายวัตที่แสดงผลอยู่
            ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีการนำเทคโนโลยีมัลติทัชมาใช้ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์แสดงภาพกล้องดิจิทัล แท็บเล็ต จอภาพคอมพิวเตอร์ การใช้งานเทคโนโลยีมัลติทัชจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับรูปแบบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย อาจแยกได้เป็นสองลักษณะ คือ จุดที่เกิดเหตุการณ์และทิศทางการเคลื่อนไหวของจุดที่เกิดเหตุการณ์เช่น จุดที่วางนิ้ว การเลื่อนนิ้วไปทางทิศเดียวกันจากซ้ายไปขวาการเลื่อนนิ้วไปคนละทิศห่างออกจากกันหรือเข้าหากัน รูปแบบเหตุการณ์อาจจะมีตั้งแต่1จุด ที่ใช้นิ้วเดียวในการทำงานจนกระทั่งหลายจุดที่ใช้หลายนิ้วในการทำงาน
            โปรแกรมที่ใช้งานแบบมัลติทัชจำเป็นต้องอาศัยฮาร์ดแวร์ที่รองรับการทำงานแบบ มัลติทัชด้วย เช่น จอแสดงภาพแบบมัลติทัชแป้นสัมผัสแบบมัลติทัช





               จอสัมผัส (Touchscreen)
               ระบบหน้าจอสัมผัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีมาช้านานแล้วตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งระบบหน้าจอสัมผัสจริงๆแล้วนั้นแพร่หลายอยู่บนเครื่องอุปกรณ์พกพาในรูป แบบต่างที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี เช่นพวกเครื่องเก็บเงินตามโต๊ะแคชเชียร์ หรืออุปกรณ์เช็คสต๊อคสินค้าต่างๆ เพราะด้วยความสะดวกที่มีมากกว่าจะต้องใช้ Keyboard หรือ Mouse ในการสั่งการ เพราะหน้าจอระบบสัมผัสส่วนมากจะสามารถใช้นิ้วแตะเพื่อป้อนคำสั่งได้อยู่แล้ว จนในที่สุดระบบหน้าจอสัมผัสมันเลยกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดเด่นสำหรับอุปกรณ์ พกพาในรูปแบบ PDA ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่ PDA เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง Newton ของ Apple หรือแม้แต่ Palm สุดยอด PDA ยอดนิยมเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว และกระแสของ Touchscreen ก็กลับมาโด่งดังอีกครั้งจากการเปิดตัวของ Iphone และสิ่งที่ใครๆต่างก็จำได้คือระบบสัมผัสที่ใช้นิ้วมือ บวกกับระบบ iOS ทำให้สามารถดึงความสามารถของ Touchscreen ออกมาได้เต็มที่ และก็ถือเป็นจุดเด่นสำคัญ จนทำให้มีผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีต่างๆ หันมาทำตลาดที่เกี่ยวกับ Touchscreen กันมากขึ้น เช่น โทรศัพพท์มือถือ, Notebook, Tablet โดยเฉพาะ Tablet ที่กำลังดังมากๆในช่วงนี้ครับ มีข่าวมาตั้งแต่การเปิดตัว iPad และแน่นอนว่าผู้ผลิตค่ายอื่นๆ ก็ทำตามด้วย
               จอสัมผัสที่ใช้งานกันทั่วๆไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Resistive และ Capasitive
               1. หน้าจอแบบ Resistive
               เทคโนโลยี Resistive ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัดและเหมาะกับการใช้งานประเภทต่างๆได้กว้างขวาง เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าที่ใช้เครื่อง POS งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในอุปกรณ์พกพาอย่าง PDA, Mobile เป็นต้น Touch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วย เลเยอร์ด้านบนที่ยืดหยุ่นและเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่บนพื้นแข็งคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวนซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านในของ 2 เลเยอร์สัมผัสกัน เพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติโปร่งแสงในเวลาจะมีการปล่อยกระแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อคุณกดที่Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุมก็จะคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัส เมื่อคำนาณค่ากระแสตามแนวตั้งและแนวนอนก็จะได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ
               จุดแข็งของ Resistive
                   - ราคาไม่แพง (มือถือและ Tablet ราคาถูกจะใช้จอแบบนี้)
                   - สามารถใช้อะไรสัมผัสก็ได้
                   - หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด
                   - กินไฟน้อย


              2. หน้าจอแบบ Capacitive
              เทคโนโลยี Capacitive มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งความทนทานความโปร่งแสงมักเป็นที่นิยมใน Application ประเภท เกมส์ Entertrainment,ATM, Kiosk อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม และ POS โครงสร้างของ TouchScreen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วยอ็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งานก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้วสี่ของ Touch Screen เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งแผ่น ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าสัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรง ดันตกลง จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำแหน่งที่สัมผัสได้
                                     
 แข็งของ Capacitive
                   - มีความคมชัด
                   - แสงจากหน้าจอสามารถผ่านออกมา                    ได้ ภาพจึงชัด
                   - หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด                          สามารถสัมผัสด้วยนิ้ว
                   - ราคาแพงกว่า Resistive แต่                                 ประสิทธิภาพดีกว่ามาก
                   - นิยมใช้เพื่อทำระบบ Multitouch (ใช้                 นิ้วมือสัมพัสได้หลายๆนิ้วในคราวเดียว
              
        จอ มัลติทัช (Multi Touch)

               มัลติทัชเป็นการต่อยอดมากจากหน้าจอสัมผัสทั่วไป ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นทัชสกรีนธรรมดาจะเป็นการรับคำสั่งได้ทีละจุดทีละคำสั่ง คล้ายๆกับเวลาเราเล่นเกมส์จับผิดภาพ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือหรือPDAนั่นเอง แต่ว่ามัลติทัชจะต่างออกไปเพราะสามารถรองรับการสัมผัสได้ทีละหลายๆจุดทำให้เกิดรูปแบบการสั่งงานที่คล่องตัวมากขึ้นและก็มีการควบคุมที่สะดวกกว่า ให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไปจากการควบคุมคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ก่อนหน้านี้บิลเกตได้เคยออกมาประกาศว่าเม้าส์และคีย์บอร์ดจะกลายเป็นของที่ล้าสมัยไปในที่สุด ซึ่งหนึ่งในรูปแบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ก็คือมัลติทัช(Multi-touch) ฉะนั้นจังไม่น่าแปลกใจที่Windows7จะนำเทคโนโลยีมัลติทัชเข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นในอนาคตเราก็มีโอกาสจะได้ใช้มัลติทัชกันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับเทคโนโลยีมัลติทัชก็จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ หลักๆอย่างแรกก็คือ หน้าสัมผัสซึ่งตัวนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหน้าจอแสดงภาพอย่างเดียว อาจจะเป็นโต๊ะ กำแพง เป็นTouch Pad บนโน้ตบุ๊คก็ได้ ส่วนนี้เป็นได้หลายรูปแบบในลักษณะการรับค่าสัมผัสจากหน้าจอหรือว่าตัวinterface ซึ่งทำได้ทั้งการผ่านความร้อน แรงกดของนิ้ว ใช้แสงอินฟาเหรด คลื่นอัลตราโซนิค คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแม้แต่การควบคุมผ่านทางแสงเงาก็มีการพัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่ส่วนที่คิดว่าสำคัญที่สุดในระบบมัลติทัชก็คือเรื่องของSoftwereในการควบคุม ถ้าดูจาก I-Phone จะเห็นว่าตัว Softwere สามารถที่จะเข้ามาผสานการทำงานกับระบบมัลติทัชได้อย่างลงตัว และทำให้รูปแบบการทำงานดูน่าใช้มากขึ้น สร้างสรรค์การปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ ถูกยกระดับขึ้นเป็นอีก1มิติใหม่ ถึงแม้เราจะเห็นมัลติทัชในช่าง 2-3ปีที่ผ่านมาอย่างแพร่หลาย แต่จริงๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นและพัฒนาระบบมัลติทัชมาไม่ต่ำกว่า 25 ปีแล้ว แต่มาเห็นเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ปี 2542 มีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Delawere 2คน ได้สร้างบริษัทขึ้นมาที่ชื่อว่าFinger Works และพัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Igester Padและ Touchstream keyboard ก่อนที่จะถูกซื้อกิจการไปในที่สุด โดยบริษัทที่มีชื่อว่าApple

                 
               Appleได้เข้าไปซื้อบริษัท Finger Works ไปเมื่อประมาณปี2548 จึงไม่น่าแปลกว่าAppleเป็นบริษัทแรกๆที่จุดกระแสด้านระบบมัลติทัช และมีการนำมาใช้กันอย่างเป็นรูปอธรรม เป็นที่ประทับใจของคนทั่วไป เป็นSoftwereที่ผสานกันอย่างลงตัว หน้าจอของI-Phoneเป็นแบบ Capacitive Touchscreen ซึ่งต้องอาศัยสื่อนำไฟฟ้าอย่างผิวหนัง ทำให้ปากกาพลาสติกทั่วไปไม่สามารถใช้งานกับหน้าจอI-Phoneได้ ลูกเล่นด้านมัลติทัชของI-Phoneถูกสอดแทรกเข้าไปกับการทำงานได้อย่างลงตัว ทำให้ผู้ใช้งานจำนวนมากเห็นถึงความสะดวกสบายในการใช้งานผ่านระบบมัลติทัช เช่นการใช้นิ้วมือลากเพื่อเลื่อนคำสั่งต่างๆในจอ หรือใช้นิ้วมือสองนิ้วเพื่อย่อหรือขยายรูปภาพบนหน้าจอได้อย่างสะดวก นอกจากนี้I-Phoneยังได้ผสานAccelerometerหรืออุปกรณ์วัดความแร่งแบบ3แกน ทำให้พลิกหน้าจอแสดงผลได้โดยรอบเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองของการเล่นภาพได้ตามต้องการ ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน นอกจากนี้Appleยังได้นำมัลติทัชไปไว้ใน I-Pod Touch,Mac Book AirและMac Book Proอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
               ด้านMicrosoftแม้จะได้เริ่มการวิจัยมาก่อนAppleแต่กลับออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้ช้ากว่า และก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์แบบเฉพาะกลุ่มและราคาแพง แต่ถ้าพูดถึงในด้านการทำงาน ทางด้านMicrosoft Serface ถือว่าเป็นโต๊ะอัจฉริยะที่ผสานมัลติทัชและการทำงานไร้สายได้อย่างลงตัว Microsoft Serface ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista มีProcesserเป็นInTel Core 2 Duo หน่วยความจำ2Gb มีการออกแบบinterface การควบคุมแบบใหม่ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีการนำมัลติทัชใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ทรงกลมที่มีชื่อว่าSphere นอกจากMicrosoft และAppleแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทที่ให้ความสนใจกับมัลติทัชอีกมากมายเช่นPerceptive Pixel โดยผลิตมัลติทัชไว้สำหรับองค์กรณ์ใหญ่ๆเพื่อความสะดวก เช่น Active Board เป็นกระดานแบบมัลติทัชใช้ในการเรียนการสอน
               ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมัลติทัชมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น แท็บเล็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ ได้นำระบบมัลติทัชมาใช้เพื่อความสะดวกในการใช้งานแทนระบบเมาส์ และแป้นพิมพ์ ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง พกพาสะดวก และระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น ซิมเบียน, วินโดวส์ 8, ไอโอเอส, แอนดรอยด์, อุบุนตู(ลินุกซ์เดกส์ทอป) ได้เพิ่มซอฟต์แวร์มัลติทัชเข้าไปในระบบ



การแสดงภาพ3มิติ

5. การแสดงภาพ3 มิติ
            ภาพ3มิติ เป็นวิธีแสดงภาพให้ผู้ชมมองเห็นภาพมีมิติในแนวกว้าง แนวยาว และแนวลึก ปัจจุบันมีการนำเอาเทคนิคการแสดงภาพ3มิติไปใช้ในการผลิตภาพยนต์ต่างๆ เพื่อให้มีมิติมากขึ้น จะเห็นตัวอย่างภาพยนต์ที่ฉายในโรงภาพยนต์หรืออยู่ในรูปแบบวีซีดี
         เทคนิการแสดงภาพ3มิติ เป็นการนำภาพ2มิติมาแสดงผล โดยมีเทคนิคการแสดงภาพที่ทำให้ตาข้างซ้ายและข้างขวามองเห็นภาพของวัตถุเดียวกันในมุมมองที่แตกต่างกันส่งผลให้สมองตีความเป็นภาพที่มีความลึก
ตัวอย่างเทคนิคการแสดงภาพ3มิติมีดังนี้
1.5.1 การแสดงภาพแบบแอนากลิฟ
            การแสดงภาพแอนากลิฟ (anaglyph) เป็นการฉายภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาที่มีโทนสีแตกต่างกันลงบนฉากรับภาพเดียวกัน โทนสีที่ใช้มักจะใช้เป็นสีแดงและน้ำเงิน การมองด้วยตาปล่าวจะทำให้เห็นเป็นภาพซ้อนและเหลื่อมกันเล็กน้อย การมองภาพให้เป็นภาพ3มิติ จึงต้องใช้แว่นที่มีแผ่นกรองแสงด้านหน้ามีข้างหนึ่งเป็นสีแดงและอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน แว่นนี้ทำหน้าที่ตัดสีที่ตรงกับสีของแว่นออกไป โดยที่แว่นตาข้างที่มีสีแดงจะตัดภาพสีแดงออกไป ทำให้เห็นแต่ภาพที่มีแต่สีน้ำเงินส่วนแว่นตาข้างที่เป็นสีน้ำเงินจะตัดภาพส่วนที่เป็นสีน้ำเงินออกไปทำให้เห็นแต่ภาพที่เป็นสีแดงซึ่งจะทำให้ตาทั้งสองข้างมองเห็นภาพในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป  และสมองจะตีความให้เสมือนว่ามองเห็นภาพเห็น3มิติ
1.5.2 การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ
การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ (polarized 3-D) มีการทำงานที่คล้ายกับแอนากลิฟโดยการฉายภาพลงที่ฉากรับภาพเดียวกัน และมีมุมมองของภาพที่แตกต่างกันแต่เปลี่ยนจากการใช้สีเป็นตัวตัดภาพไปใช้วิธีการวางตัวของช่องมองภาพแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันแทน เช่น แว่นตาข้างซ้ายจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวตั้งส่วนแว่นข้างขวาจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวนอนทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพไม่เหมือนกันเมื่อสมองรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาจะมองเห็นภาพเป็น3มิติดังรูปที่1.11แว่นตาที่ใช้เป็นแว่นตาโพลาไรซ์สำหรับมองภาพโพลาไรซ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ภาพมีสีสันสมจริงมากกว่าแบบแอนะกลิฟเทคนิคนี้นิยมใช้ในภาพยนต์3มิติ
1.5.3 การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์
            การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์ (active shutter) จะต้องอาศัยการฉายภาพที่มีความถี่ในการแสดงภาพอย่างน้อย120เฮิรตซ์ เนื่องจากจะต้องแสดงภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาสลับกัน ดังนั้นการแสดงภาพจะเป็นลำดับซ้าย-ขวา สลับไปจนครบ120ภาพใน1วินาทีตาข้างซ้ายและข้างขวาจึงเห็นข้างละ60ภาพใน1วินาทีซึ่งเป็นความถี่ขั้นต่ำที่ทำให้ไม่รู้สึกว่าภาพสั่น การฉายภาพลักษณะนี้จะต้องใช้แว่นตาแอ็กทิฟชัตเตอร์ มาช่วยในการมองภาพโดยแว่นตาจะสื่อสารกับเครื่องฉายว่าจะบังตาข้างไหนในขณะฉายภาพ เช่น ภาพสำหรับตาซ้าย เครื่องฉายจะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างขวา หรือถ้าเครื่องฉายแสดงภาพที่ต้องใช้ตาขวาดู  เครื่องฉายก็จะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างซ้าย

1.5.4 การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย
            การแสดงภาพ 3 มิติก่อนหน้านี้จำเป็นจะต้องใช้แว่นตาในการมองเห็นเป็นภาพ3มิติ แต่การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย(parallaxarrier)จะไม่ใช้แว่นตา ซึ่งโดยวิธีนี้จะแบ่งภาพที่มีมุม bกล้องต่างกัน ออกเป็นแท่งแล้วนำไปวางสลับกันโดยมีชั้นกรองพิเศษที่เรียกว่า พาราแลกซ์บาร์เรีย ในการแบ่งภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่านชั้นกรองนี้เห็นภาพที่แตกต่างกัน แล้วสมองจะรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาที่มีมุมมองต่างกันนี้ให้เป็นภาพเดียว ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพ3มิติ ได้ด้วยตาเปล่า

การประมวลภาพ

4. การประมวลผลภาพ
          การประมวลผลภาพ (Image Processing) หมายถึง การนำภาพมาประมวลผลหรือคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เราต้องการทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ


  โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ การทำให้ภาพมี
ความคมชัดมากขึ้น การกำจัดสัญญาณรบกวนออกจากภาพ การแบ่งส่วนของวัตถุที่เราสนใจออกมาจากภาพ เพื่อนำภาพวัตถุที่ได้ไปวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ขนาด รูปร่าง และทิศทางการเคลื่อนของวัตถุในภาพ จากนั้นเราสามารถนำข้อมูลเชิงปริมาณเหล่านี้ไปวิเคราะห์ และสร้างเป็นระบบ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ เช่น ระบบรู้จำลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบว่าภาพลายนิ้วมือที่มีอยู่นั้นเป็นของผู้ใด ระบบตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ระบบคัดแยกเกรดหรือคุณภาพของพืชผลทางการเกษตร ระบบอ่านรหัสไปรษณีย์อัตโนมัติ เพื่อคัดแยกปลายทางของจดหมายที่มีจำนวนมากในแต่ละวันโดยใช้ภาพถ่ายของรหัสไปรษณีย์ที่อยู่บนซอง ระบบเก็บข้อมูลรถที่เข้าและออกอาคารโดยใช้ภาพถ่ายของป้ายทะเบียนรถเพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัย ระบบดูแลและตรวจสอบสภาพการจราจรบนท้องถนนโดยการนับจำนวนรถบนท้องถนนในภาพถ่ายด้วยกล้องวงจรปิดในแต่ละช่วงเวลา ระบบรู้จำใบหน้าเพื่อเฝ้าระวังผู้ก่อการร้ายในอาคารสถานที่สำคัญ ๆ หรือในเขตคนเข้าเมือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระบบเหล่านี้จำเป็นต้องมีการประมวลผลภาพจำนวนมาก และเป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ๆ กันในรูปแบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งงานในลักษณะเหล่านี้ หากให้มนุษย์วิเคราะห์เอง มักต้องใช้เวลามากและใช้แรงงานสูง อีกทั้งหากจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพเป็นจำนวนมาก ผู้วิเคราะห์ภาพเองอาจเกิดอาการล้า ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เหล่านี้แทนมนุษย์ อีกทั้ง เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคำนวณและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ในเวลาอันสั้น จึงมีประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลภาพและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากภาพในระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น


  คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเกี่ยวข้องกับภาพ (image) หรือรูปภาพ (picture) ได้หลากหลายลักษณะคอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้วสร้างเป็นภาพขึ้นมาส่วนการประมวลผลภาพ(image processing) เป็นการนำภาพมาเปลี่ยนเป็นขิ้มูลดิจิทัล แล้วใช้กรรมวิธีใดๆมากระทำกับข้อมูลภาพเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณสมบัติตามต้องการ
       ตัวอย่างการนำการประมวลผลภาพไปใช้งานเช่น
ระบบตรวจกระดาษคำตอบ  โดยมีการเปรียบเทียบภาพกระดาษคำตอบที่ถูกต้องกับกระดาษคำตอบที่ตรวจว่าตำแหน่งตรงกันหรือไม่ ถ้าตำแหน่งตรงกันก็จะได้คะแนน

            ระบบตรวจจับใบหน้าในกล้องดิจิทัล โดยกล้องจะมีระบบตรวจว่าส่วนไหนของภาพมีลักษณะคล้ายใบหน้า แล้วกล้องก็จะทำการโฟกัสตำแหน่งที่ตรวจจับเพื่อภาพมีความคมชัดมากขึ้น เช่น ระยะห่างระหว่างคิว มุมปาก จมูก โหนกแก้ม โครงหน้า

            ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาความปลอดภัย โดยกล้องจะเปรียบเทียบภาพก่อนหน้าและภาพปัจจุบัน ถ้ามีส่วนใดเปลี่ยนแปลงระบบจะบันทึกเฉพาะภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บภาพและสามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง

            ระบบอ่านบาร์โค้ด  โดยระบบนี้จะอ่านรหัสจากบาร์โค้ด แล้วแปลงเป็นข้อมูลซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ เช่น QR code, Microsoft tag


               ภาพที่นำมาประมวลผลนั้นเป็นได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ในการนำภาพนิ่งเข้ามาประมวลผลนั้น โปรแกรมจะอ่านไฟล์ภาพขึ้นมาแล้วถอดรหัสจากค่าสีของภาพแต่ระจุดเป็นตัวเลข เพื่อนำมาประมวลผลสำหรับการประมวลผลภาพเคลื่อนไหวนั้นโปรแกรมจะมองเป็นภาพนิ่งหลายภาพที่เรียงต่อกันนั้นเอง
   ในปัจจุบัน เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ ซึ่ง
ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูอวัยวะสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ภายในร่างกายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ได้พัฒนาไปไกลมาก เริ่มจากเครื่องเอ็กซเรย์(X-Ray) 
ซึ่งสามารถถ่ายภาพโครงสร้างกระดูกและอวัยวะบางอย่างเช่น ปอด ภายในร่างกายได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาสร้างเครื่อง CT (Computed Tomography) ซึ่งสามารถจับภาพอวัยวะต่าง ๆ ในแนวระนาบตัดขวางได้ ทำให้เราเห็นข้อมูลภาพได้มากขึ้น
การแบ่งส่วนภาพ (Image Segmentation) เป็นวิธีการแบ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพที่เราสนใจออกมาจากภาพที่เราต้องการ ซึ่งการแบ่งส่วนภาพนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขั้นตอนเบื้องต้นและสำคัญอย่างมากของการประมวลผลภาพทางการแพทย์ เนื่องจากภาพทางการแพทย์ที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพแบบต่าง ๆ นั้น โดยปกติมักจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับอวัยวะที่ทำถ่ายภาพมา เช่น เนื้อเยื่อ กระดูก อวัยวะข้างเคียง หรือแม้กระทั่งสัญญาณรบกวน (Noise) ที่ขึ้นในขณะถ่ายภาพ ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์เฉพาะอวัยวะที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้การแบ่งส่วนภาพมาทำหน้าที่ตัดแยกส่วนที่เราต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนเนื้อสมองจากภาพสมอง การแบ่งส่วนภาพหัวใจห้องล่างซ้ายจากภาพหัวใจ MRI การแบ่งส่วนเฉพาะเส้นโลหิต การแบ่งส่วนข้อกระดูกสันหลังจากภาพลำกระดูกสันหลัง หรือ การแบ่งส่วนของทารกจากภาพอัลตราซาวด์ เป็นต้น การแบ่งส่วนภาพทางการแพทย์มีทั้งการแบ่งส่วนภาพแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นอยู่ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการนำไปวิเคราะห์ โดยวิธีการแบ่งส่วนภาพที่กำลังได้รับความนิยมในงานวิจัยเกี่ยวกับภาพทางการแพทย์ ได้แก่ แอ็กทิฟคอนทัวร์ (Active Contour) และ แอ็กทิฟเซอร์เฟส (Active Surface) เป็นต้น
การซ้อนทับภาพ (Image Registration)
เป็นวิธีการนำข้อมูลของสองภาพหรือมากกว่า มารวมกันเพื่อให้เกิดภาพใหม่ที่มีข้อมูลภาพสมบูรณ์มากขึ้น โดยภาพใหม่ที่ได้นี้ จะเป็นการรวมตัวกันของข้อมูลหรือรายละเอียดในแต่ละภาพที่นำมาผสานกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดและข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้งาน หรือการนำภาพไปวิเคราะห์ โดยส่วนใหญ่แล้วภาพที่จะนำมาซ้อนทับกันนั้น อาจเป็นภาพถ่ายของอวัยวะเดียวกัน ที่ถ่ายต่างเวลากัน ต่างมุมมองกัน หรือ ใช้เทคนิคในการถ่ายภาพที่แตกต่างกัน เป็นต้น และการนำวิธีการซ้อนทับภาพมาใช้กับภาพทางการแพทย์ มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น การตรวจ ติดตาม หรือหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ทำได้โดยการนำภาพถ่ายของอวัยวะที่ต้องการตรวจ ที่ได้ถ่ายไว้ในอดีต มาทำการซ้อนทับกับภาพถ่ายของอวัยวะเดียวกันที่ถ่ายไว้ในปัจจุบัน โดยทำให้ตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ ของทั้งสองภาพตรงกัน ซึ่งการทำในลักษณะนี้ จะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของอวัยวะนั้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในช่วงเวลานั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างไรต่อไป มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ มีอวัยวะที่โตขึ้นผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น การนำภาพทางการแพทย์ที่ใช้เทคนิคในการถ่ายภาพแตกต่างกัน มาทำการซ้อนทับภาพ เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของวิธีการนี้ เนื่องจากภาพทางการแพทย์ที่ถ่ายโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพเพียงแบบเดียว อาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพหลาย ๆ แบบ เพื่อให้ได้ข้อมูล รายละเอียดของอวัยวะ หรือองค์ประกอบรอบข้างอื่น ๆ ของอวัยวะนั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์

เทคโนโลยีบรอดเเบนด์ไร้สาย


   
3. เทคโนโลยีบรอดแบนไร้สาย
                    
 
 



         ระบบสื่อสารมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมีเทคโนโลยีแบบไร้สายที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ระบบจีเอสเอ็ม(Global System for Mobile Communication:GSM ) การพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นพัฒนามาหลายรุ่น เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีตั้งแต่ยุคที่2(2G) จนถึงยุคที่3(3G) โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค2G เริ่มมีการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัลแต่การรับส่งข้อมูลนั้นยังม่มีประสิทธิภาพมากนักต่อมาผู้ให้บริการมีการตอบสนองความต้องการด้านการรับส่งข้อมูลให้กับลูกค้า โดยพัฒนามาเป็นยุคของ2.5G มีการนำระบบจีพีอาร์เอส (General Packet Radio service: GPRS ) มาใช้ร่วมกับระบบจีเอสเอ็มทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ในระบบนี้สามารถรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
            ผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่นำเทคโนโลยีจีพีอาร์เอสมาใช้จะต้องมีการปรับการทำงานของเครือข่ายโดยการนำซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เพิ่มเข้าไปในระบบเพื่อแยกเส้นทางที่ส่งเสียงข้อมูลเสียงพูดออกจากเส้นทางที่ใช้ส่งข้อมูล เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด171.2 กิโลบิตต่อวินาที
            ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบจีพีอาร์เอสให้มีความเร็วในการสื่อสารสูงขึ้นถึง384กิโลบิตต่อวินาที เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่าเอจ(Enhanced Data Rates for Global Evolution:EDGE ) ซึ่งจัดอยู่ในยุค 2.75G
            ถ้าหากพิจารณาการนำเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ในการรับส่งข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงแล้วเครือข่ายแบบจีพีอาร์เอสสามารถใช้บริการรับส่งไฟล์รูปภาพ เสียงเพลง หรือไฟล์มัลติมิเดี่ยต่างๆได้ดีขึ้น
            เทคโนโลยี3G
            แม้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2.5G หรือ 2.75G จะสามารถตอบสนองการใช้งานมากกว่าการสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว แต่มีข้อจำกัดหลายประการเนื่องจากเป็นการนำเทคโนโลยีเก่ามาต่อยอดการทำงานในระบบเดิมทำให้ไม่มีผู้ให้บริการรายใดสามารถให้บริการจีพีอาร์เอสที่อัตราเร็ว171.2กิโลบิตต่อวินาทีหรือเอจที่อัตราเร็ว384กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาได้มีการพัฒนามาถึงยุคที่3 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารข้อมูลมัลติมีเดี่ยด้วยความเร็วสูง สำหรับในระบบ 3G จะทำงานในระบบซีดีเอ็มเอ(Code Division Multiple Access: CDMA) อัตราเร็ว
               ยุค 1G   เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ   ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ   และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ   จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย    และการขยายแถบความถี่   ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ   เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้   ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่   ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก  ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล  และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น

               ยุค 2G  เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
               ยุค  2.5G    การสื่อสารไร้สายยุค   2.5G  ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี    ในระดับ 2G   แต่มีประสิทธิ  -  ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค  3G  โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล   แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ  20 – 40 Kbps   ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

                ยุค 3G   เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้  โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้  และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS)   โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย    สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย  เช่น  จากคอมพิวเตอร์   จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ   CDMA   ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า  แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA
                 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น   3G    เป็นแบบ  CDMA  เช่นกัน แต่เรียกว่า   CDMA2000   กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก   IS95   ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา  และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง  (HDR-High Data Rate)   การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย   โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ   1G และ 2G    โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า    GPRS – General  Packet  Radio  Service    ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่   9.06,  13.4,  15.6 และ 21.4  กิโลบิตต่อวินาที   โดยในการพัฒนาต่อจาก   GPRS    ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า  EDGE - (Enhanced  Data  Rate  for  GSM  Evolution)
เทคโนโลยีในยุคที่    3   เรื่องความเร็วในการรับ  -  ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia  ได้อย่างสมบูรณ์แบบ  และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น  การรับ - ส่ง  File  ขนาดใหญ่,  การใช้บริการ   Video   Conference,   Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น
               สำหรับประเทศไทย  ปี  2549  นี้  เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G  แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว





เทคโนโลยี 4G  

เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ  หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที เราคงได้รู้ถึงความพิเศษของ 4G กันแล้ว แต่นี่เป็นเพียงความพิเศษเบื้องต้นเท่านั้น  ต่อไปเราจะมาศึกษารายละเอียดความเป็นมาของเทคโนยีที่น่าอัศจรรย์นี้ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงความสำคัญหลักๆของเทคโนโลยี 4G โดยละเอียดมีดังนี้
    -ประวัติของเทคโนโลยี 4G
    -มาตรฐานของเทคโนโลยี 4G
    -หลักการทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยี 4G
    -การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้
ประวัติของเทคโนโลยี 4G

           "Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ” การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G"

4Gคืออะไร?

           4G คือ คำย่อของระบบการสื่อสารไร้สายรุ่นที่ 4 (Fourth-Generation Wireless) เป็นอีกขั้นของการสื่อสารเคลื่อนที่แบบ Broadband ที่จะออกตามหลังระบบ 3G สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่ึการนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G 

 ก่อนอื่นเรามาทราบถึงประวัติของระบบการสื่อสารไร้สายแต่ละรุ่นกันก่อนดีกว่า

           ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อก คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว   คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น  ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว ในยุคนั้นผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆนอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่ มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่ ยุค 1G จึงเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่อง  สื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่โทรศัพท์เซลลูลาร์  ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามากในภายหลังจึงมีการเปลี่ยน

รูปภาพของเทคโนโลยีที่ใช้กันในยุค 1G



           ยุค 2G จะเปลี่ยนจากการส่งคลื่ันวิทยุแบบล็อกมาเป็นการเข้ารหัสDigitalแทน เป็นการส่งคลื่นทางMicrowave ซึ่งในยุคนี้เองที่เราเริ่มใช้งานทางด้านDataได้นอกเหนือจากการใช้เสียงเพีบงอย่างเดียว ยุคนี้เราสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจนมีการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เข้าใจว่าcall site การติดต่อจากสถานีลูกกับสถานีเบสใช้วิธีการสองแบบ คือ การแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็กๆ  แบ่งกันใช้ทำให้ช่องสัญญาณความถี่เพิ่มขึ้นจากเดิม เกิดระบบGSM(Global System for Mobilization)ซึ่งโทรศัพท์เครื่องเดียวสามารถใช้ได้ทั่วโลก เรียกว่า Roaming


รูปภาพของเทคโนโลยีที่ใช้กันในยุค 2G
          ยุค2.5G เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2G ซึ่งตามหลักการ
   แล้ว เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น  ซึ่งในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการ  ในส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMS โทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็นเพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็น Polyphonic รวมไปถึง

 True tone ต่างๆ ด้วย

รูปภาพของเทคโนโลยีที่ใช้กันในยุค 2.5G 
          ยุค 2.75G ก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วยนะ ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูก 

เรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นแต่ว่า ยุค 2.75G 

ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการนะคะ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น3G
              ยุค3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูลโดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้

   ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call

  Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย

   คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่า และ

   เรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายมาสามรถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่อง

   สัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณได้มากกว่าแต่ใช้แบบแถบกว้าง ระบบนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า WCDMA มีแนวโน้มเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์
รูปภาพของเทคโนโลยีที่ใช้กันในยุค 3G 


  
          ยุค4G หรือ4G ( Forth Generation ) เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้

  แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่ง

 ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง

 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

รูปภาพพัฒนาการตั้งแต่ยุค1Gมาจนถึงงยุค4G

หลักการทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยี 4G
         จากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สายทำให้มีการคาดหมายไว้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สายในยุคที่ 4 จะเข้ามาในอีกไม่เกิน 8-10 ปี ซึ่งจะเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างไปจากการพัฒนาในยุค 2.5G และ 3G โดยจะเน้นไปที่การรวมเอาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็น GSM แลนไร้สาย บลูทูธ หรือแม้กระทั่ง RFID ถ้าจะเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีในยุค 3G ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนามาตรฐานใหม่และวิวัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือแล้วนั้นเทคโนโลยีในยุค 4G จะเน้นทางด้านการใช้งานและรูปแบบบริการส่วนบุคคลรวมถึงความเสถียรและคุณภาพในการให้บริการเป็นหลักแต่อย่างไรก็ตามเส้นทางในการก้าวไปสู่ยุค 4G นั้นก็ยังมีความท้าทายที่รออยู่หลายด้านอันจะได้กล่าวถึงต่อไป ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความสำเร็จของระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ที่ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นเหตุให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับยุค 3G ตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยตัวอย่างเทคโนโลยียุค 2G ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ GSM, IS-95 และ cdmaOne ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารด้านเสียงและการส่งข้อมูลแบบ low-bit-rate ส่วนระบบในยุค 3G นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รองรับบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลและวิดีโอ

        และในช่วงกลางระหว่างการเปลี่ยนแปลงจากยุค 2G ไปเป็นยุค 3G นั้นก็ได้มีวิวัฒนาการด้านระบบสื่อสารไร้สายมากมายหรือที่เรามักจะเรียกกันว่าเป็นเทคโนโลยีในยุค 2.5G ซึ่งมีความสามารถในการรองรับการสื่อสารและบริการด้านข้อมูลมากขึ้น เช่น GPRS, IMT-2000, บูลทูธ, แลนไร้สาย IEEE 802.11, ไฮเปอร์แลน และ ไวแม็ก (WIMAX) โดยแต่ละเทคโนโลยีนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถเฉพาะเจาะจงกับการใช้งานและการบริการเฉพาะทาง ซึ่งต่างก็มีจุดเด่นที่ไม่สามารถที่จะหาเอาเทคโนโลยีอันหนึ่งอันใดมาแทนการใช้งานของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้

        ดังนั้น สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในยุค 4G นั้นแทนที่จะมุ่งพัฒนาในด้านเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุอย่างที่เคยทำมาทั้งกับเทคโนโลยีในยุค 2.5G และ 3G ก็ได้มีแนวคิดใหม่สำหรับระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G ซึ่งน่าจะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีไร้สายต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวและน่าจะเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดโดยในปัจจุบันนี้ทีมวิจัยของบริษัทชั้นนำอย่าง NTT DoCoMo ก็กำลังดำเนินการวางกรอบของเทคโนโลยียุค 4G ในอนาคตอยู่เช่นกันแต่สุดท้ายแล้วจะออกมาเป็นแบบใดก็คงต้องติดตามกัน ถ้าจะลองนึกภาพของเทคโนโลยียุค 4G นั้นก็น่าจะเป็นระบบเครือข่ายที่เป็น IP-based ทั้งหมดซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลาโดยอาศัยเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานได้กับทุกเทคโนโลยีและแอพพลิเคชันต่างๆบนโครงข่ายไร้สายทุกประเภทเหมือนๆ กับแนวคิดของโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้แบบ Quad-Band ในปัจจุบัน แต่จะมีความสามารถมากกว่าในการรวมเอาหลากหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน

        นอกจากนี้ เทคโนโลยียุค 4G นั้นควรที่จะเน้นในการให้บริการด้านโทรคมนาคมรวมถึงการสื่อสารข้อมูลและมัลติมีเดียด้วยโดยมีปัจจัยหลักในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต้องการบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบที่มีความเสถียรรวมทั้งการบริการด้านเสียงและแอพพิเคชันแบบ low-bit-rate ที่จะต้องทำงานไปด้วยกันได้อย่างปกติด้วย ทุกวันนี้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากและถ้าคิดไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้ว่าคงจะมีอัตราการใช้งานมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่จะมีโทรศัพท์แบบพกพาใช้กัน ซึ่งนี่จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G ต้องมีการเตรียมการสำหรับรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่ละบุคคลคือ จะเป็นการสร้างรูปแบบบริการต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า Personalized Service ทั้งนี้ เนื่องจากว่าเมื่อฐานผู้ใช้บริการกว้างขึ้นก็จะทำให้เกิดความหลากหลายของวัย อาชีพ รสนิยม วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปแบบบริการที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มให้ได้ ลองจินตนาการดูว่าถ้าผู้ใช้โทรศัพท์ยุค 4G ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุดซึ่งผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใช้โทรศัพท์มือถือทำการเชื่อมต่อกับระบบไร้สายภายนอกหลายๆ ระบบได้ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบพิกัดสถานที่ (Global Positioning System, GPS) สำหรับระบุตำแหน่งของผู้ใช้ในการเลือกโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด และระบบแลนไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุดในการโหลดตัวอย่างภาพยนตร์ และตารางฉายขึ้นมาดูรวมไปถึงระบบโทรศัพท์มือถือแบบซีดีเอ็มเอ (Code-Division Multiple Access, CDMA) สำหรับการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงภาพยนตร์นั้นๆ ตัวอย่างการใช้งานที่ได้กล่าวไปนั้นแท้จริงแล้วเป็นการใช้บริการต่างๆ จากหลากหลายผู้ให้บริการซึ่งแอพพลิเคชั่นแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างทั้งในส่วนของระดับความปลอดภัยของข้อมูล การตั้งค่าของเครื่องลูกข่าย วิธีการคิดค่าใช้บริการซึ่งจริงๆ แล้วก็น่าจะเป็นการดีถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้สามารถรวมกันได้ในแอพพลิเคชั่นของเทคโนโลยีในยุค 4G แต่ก็ต้องรอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่สามารถสื่อสารได้กับทุกเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น GSM GPRS CDMA UMTS หรือ แลนไร้สาย ตลอดจนต้องมีส่วนเชื่อมต่อที่สามารถใช้งานได้กับ สมาร์ตการ์ดหรือการ์ดหน่วยความจำต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คงต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานที่สามารถปรับให้เครื่องลูกข่ายสื่อสารกับทุกๆ เทคโนโลยีให้ได้ การโรมมิ่งระหว่างเครือข่ายผู้ให้บริการต่างๆ เช่น จากแลนไร้สายภายในอาคารสำนักงานออกไปสู่ระบบ GSM เมื่อก้าวออกนอกสำนักงานและผ่านระบบแลนไร้สายอีกครั้งเมื่อนั่งอยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดินโดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการกำหนดวิธีการส่งต่อ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้มีการพัฒนามาช่วยในเรื่องนี้ก็คือ Mobile IPv6 (MIPv6) โดยนับได้ว่าเป็นมาตรฐานโพรโตคอลสำหรับ IP-Based ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้หลักการมาตรฐานของ IP version 6 (IPv6) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานใช้เชิงพาณิชย์ภายในไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนระบบการเรียกเก็บค่าบริการของผู้ให้บริการที่หลากหลายนั้นก็ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า ซึ่งดูแล้วคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างในปัจจุบันที่จะคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย คิดตามจำนวนเวลาหรือปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง เพราะเมื่อมีบริการมากมายจากหลากหลายผู้ให้บริการแล้วความซับซ้อนของระบบ Billing System ที่อยู่เบื้องหลังนั้นคงจะเป็นเรื่องปวดหัวไม่เบาสำหรับนักการตลาดและนักพัฒนาโปรแกรม

        ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผู้ใช้บริการไม่ได้ผูกติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งอย่างในปัจจุบันแต่จะเป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทุกรายที่รวมอยู่ในระบบ 4G และแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือต้องมีบริษัทกลางที่ทำหน้าที่เป็น Broker ในการรับชำระค่าใช้บริการและนำไปแบ่งจ่ายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายต่อไป ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับบริษัท Broker ในการซื้อ-ขายหุ้นในปัจจุบันนั่นเอง สำหรับอัตราค่าใช้บริการนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหวมากเพราะจะต้องเหมาะสมในด้านธุรกิจ การตลาดและระบบ Billing System ที่จะต้องมีความคล่องตัวมากพอในการปรับแต่งค่าต่างๆ ตามโปรโมชั่นและแผนการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละราย นอกจากนี้ยังมีอีกแนวความคิดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G น่าจะมีออกมาให้บริการได้ซึ่งนั่นก็คือ Personal Mobility ที่การสื่อสารไม่ได้ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ PDA โน้ตบุ๊ก หรือโทรศัพท์มือถือแต่จะเป็นการติดตามตัวผู้ใช้บริการเอง เช่น ถ้ามีการส่งวิดีโอเมล์ไปให้ผู้รับตัวระบบจะตรวจสอบว่าในเวลานั้นๆ ผู้ใช้กำลังทำอะไรและอยู่ที่ใดแล้วจึงค่อยส่งวิดีโอเมล์นั้นไปยังอุปกรณ์ที่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดหรือกำลังใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ตามข้อความก็จะสามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างถูกต้อง
        ถึงจุดนี้ก็น่าที่จะสรุปได้ว่าการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายในยุค 4G นั้นต้องมีการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสื่อสารกับระบบไร้สายต่าง ได้ และสำหรับในส่วนที่สองคือ ด้านระบบที่จะต้องมีการส่งต่อการให้บริการ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายตลอดจนสามารถรักษาระดับคุณภาพของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ว่าจะมีการส่งต่อการให้บริการไปอย่างไร ในส่วนสุดท้ายก็คือ ระบบ Billing System และบริการติดตามผู้ใช้ Personal Mobility ที่จะต้องอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปได้
     การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้
ประโยชน์ ของ 4G ที่มากกว่า 3G เปรียบเทียบให้เห็นตามตารางข้างล่าง 4G มีการปรับปรุงมากกว่า 3G อย่างมีนัยสำคัญนอกจากเรื่องคลื่นความถี่ ความครอบคลุม และความสามารถ และยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก อาทิเช่น คุณภาพของการบริการ QoS (Quality of Service) รูปแบบการใช้งานระบบเคลื่อนที่ที่มากขึ้น และการสนับสนุนด้านความปลอดภัย