วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การแสดงภาพ3มิติ

5. การแสดงภาพ3 มิติ
            ภาพ3มิติ เป็นวิธีแสดงภาพให้ผู้ชมมองเห็นภาพมีมิติในแนวกว้าง แนวยาว และแนวลึก ปัจจุบันมีการนำเอาเทคนิคการแสดงภาพ3มิติไปใช้ในการผลิตภาพยนต์ต่างๆ เพื่อให้มีมิติมากขึ้น จะเห็นตัวอย่างภาพยนต์ที่ฉายในโรงภาพยนต์หรืออยู่ในรูปแบบวีซีดี
         เทคนิการแสดงภาพ3มิติ เป็นการนำภาพ2มิติมาแสดงผล โดยมีเทคนิคการแสดงภาพที่ทำให้ตาข้างซ้ายและข้างขวามองเห็นภาพของวัตถุเดียวกันในมุมมองที่แตกต่างกันส่งผลให้สมองตีความเป็นภาพที่มีความลึก
ตัวอย่างเทคนิคการแสดงภาพ3มิติมีดังนี้
1.5.1 การแสดงภาพแบบแอนากลิฟ
            การแสดงภาพแอนากลิฟ (anaglyph) เป็นการฉายภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาที่มีโทนสีแตกต่างกันลงบนฉากรับภาพเดียวกัน โทนสีที่ใช้มักจะใช้เป็นสีแดงและน้ำเงิน การมองด้วยตาปล่าวจะทำให้เห็นเป็นภาพซ้อนและเหลื่อมกันเล็กน้อย การมองภาพให้เป็นภาพ3มิติ จึงต้องใช้แว่นที่มีแผ่นกรองแสงด้านหน้ามีข้างหนึ่งเป็นสีแดงและอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน แว่นนี้ทำหน้าที่ตัดสีที่ตรงกับสีของแว่นออกไป โดยที่แว่นตาข้างที่มีสีแดงจะตัดภาพสีแดงออกไป ทำให้เห็นแต่ภาพที่มีแต่สีน้ำเงินส่วนแว่นตาข้างที่เป็นสีน้ำเงินจะตัดภาพส่วนที่เป็นสีน้ำเงินออกไปทำให้เห็นแต่ภาพที่เป็นสีแดงซึ่งจะทำให้ตาทั้งสองข้างมองเห็นภาพในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป  และสมองจะตีความให้เสมือนว่ามองเห็นภาพเห็น3มิติ
1.5.2 การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ
การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ (polarized 3-D) มีการทำงานที่คล้ายกับแอนากลิฟโดยการฉายภาพลงที่ฉากรับภาพเดียวกัน และมีมุมมองของภาพที่แตกต่างกันแต่เปลี่ยนจากการใช้สีเป็นตัวตัดภาพไปใช้วิธีการวางตัวของช่องมองภาพแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันแทน เช่น แว่นตาข้างซ้ายจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวตั้งส่วนแว่นข้างขวาจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวนอนทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพไม่เหมือนกันเมื่อสมองรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาจะมองเห็นภาพเป็น3มิติดังรูปที่1.11แว่นตาที่ใช้เป็นแว่นตาโพลาไรซ์สำหรับมองภาพโพลาไรซ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ภาพมีสีสันสมจริงมากกว่าแบบแอนะกลิฟเทคนิคนี้นิยมใช้ในภาพยนต์3มิติ
1.5.3 การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์
            การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์ (active shutter) จะต้องอาศัยการฉายภาพที่มีความถี่ในการแสดงภาพอย่างน้อย120เฮิรตซ์ เนื่องจากจะต้องแสดงภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาสลับกัน ดังนั้นการแสดงภาพจะเป็นลำดับซ้าย-ขวา สลับไปจนครบ120ภาพใน1วินาทีตาข้างซ้ายและข้างขวาจึงเห็นข้างละ60ภาพใน1วินาทีซึ่งเป็นความถี่ขั้นต่ำที่ทำให้ไม่รู้สึกว่าภาพสั่น การฉายภาพลักษณะนี้จะต้องใช้แว่นตาแอ็กทิฟชัตเตอร์ มาช่วยในการมองภาพโดยแว่นตาจะสื่อสารกับเครื่องฉายว่าจะบังตาข้างไหนในขณะฉายภาพ เช่น ภาพสำหรับตาซ้าย เครื่องฉายจะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างขวา หรือถ้าเครื่องฉายแสดงภาพที่ต้องใช้ตาขวาดู  เครื่องฉายก็จะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างซ้าย

1.5.4 การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย
            การแสดงภาพ 3 มิติก่อนหน้านี้จำเป็นจะต้องใช้แว่นตาในการมองเห็นเป็นภาพ3มิติ แต่การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย(parallaxarrier)จะไม่ใช้แว่นตา ซึ่งโดยวิธีนี้จะแบ่งภาพที่มีมุม bกล้องต่างกัน ออกเป็นแท่งแล้วนำไปวางสลับกันโดยมีชั้นกรองพิเศษที่เรียกว่า พาราแลกซ์บาร์เรีย ในการแบ่งภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่านชั้นกรองนี้เห็นภาพที่แตกต่างกัน แล้วสมองจะรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาที่มีมุมมองต่างกันนี้ให้เป็นภาพเดียว ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพ3มิติ ได้ด้วยตาเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น